ปากเบี้ยว หรือหน้าเบี้ยว (Bell's Palsy/Facial Palsy) คือ
ภาวะที่กล้ามเนื้อใบหน้าข้างใดข้างหนึ่งอ่อนแรงหรือเกิดอัมพาตชั่วขณะ
โดยมีสาเหตุมาจากเส้นประสาทบนใบหน้าเกิดความผิดปกติ
ซึ่งภาวะนี้มักส่งผลให้ผู้ป่วยมีใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก
ส่วนผู้ป่วยที่ใบหน้าเบี้ยวทั้งหมดพบได้ไม่บ่อยนัก
อาการปากเบี้ยว
อาการปากเบี้ยวจะแตกต่างกันไป
ซึ่งมีตั้งแต่เกิดอาการชาระดับอ่อนไปจนถึงใบหน้าทั้งหมดเกิดอัมพาต
อาการปากเบี้ยวมักจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรงภายใน 48 ชั่วโมง ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการ ดังนี้
·
ใบหน้าครึ่งซีกประสบภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง
ส่งผลให้ใบหน้าเบี้ยว หลับตาไม่ได้ หรือหลับตาไม่สนิท
ปากเบี้ยวข้างหนึ่งรวมทั้งขยับใบหน้าไม่ได้
·
อาจเกิดการระคายเคืองที่ตา
เช่น ตาแห้ง หรือน้ำตาไหลมากขึ้น
·
อาจเกิดอาการปวดที่หู
ด้านล่างหู หรือรอบขากรรไกรของใบหน้าข้างที่เกิดอาการปากเบี้ยว
·
รับรสชาติผิดเพี้ยน
หรือรับรสได้น้อยลง
·
ประสาทหูไวต่อเสียง
·
มุมปากข้างที่เบี้ยวจะมีน้ำลายไหลออกมา
·
ปากแห้ง
·
ปวดศีรษะ
และเวียนศีรษะ
·
เกิดอาการหูอื้อข้างเดียวหรือทั้ง
2 ข้าง
·
เคี้ยวอาหารหรือดื่มน้ำลำบาก
·
พูดไม่ชัด
สาเหตุของปากเบี้ยว
ปากเบี้ยวเกิดจากเส้นประสาทใบหน้าหรือเส้นประสาทสมองคู่ที่
7 บวมหรืออักเสบ ส่งผลให้กล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรงหรือเป็นอัมพาต
สาเหตุที่ทำให้เส้นประสาทใบหน้าผิดปกติยังไม่ปรากฏแน่ชัด อย่างไรก็ตาม
สาเหตุที่ทำให้เส้นประสาทใบหน้าอักเสบนั้นอาจมีแนวโน้มมาจากการติดเชื้อไวรัส
ซึ่งเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดภาวะปากเบี้ยว มักเป็นเชื้อของโรคต่อไปนี้
·
โรคเริม
เชื้อของโรคเริมที่ทำให้เส้นประสาทใบหน้าเกิดการอักเสบ มี 2 ชนิด ได้แก่ เชื้อไวรัสเอชเอสวี
(HSV) ซึ่งมีทั้งเชื้อไวรัสเอชเอสวี ชนิด 1 (HSV-1) และเชื้อไวรัสเอชเอสวี ชนิด 2 (HSV-2) โดยเชื้อเอชเอสวี ชนิด 1
จะก่อให้เกิดแผลที่ปาก ส่วนเชื้อเอชเอสวี ชนิด 2 มักจะทำให้เกิดเริมที่อวัยวะเพศ
·
เชื้อไวรัสวาริเซลล่า
(Varicella
Virus) ซึ่งทำให้เกิดโรคอีสุกอีใสและงูสวัด
เชื้อไวรัสชนิดนี้จัดเป็นเชื้อที่ทำให้เกิดปากเบี้ยวได้น้อยกว่าเชื้อไวรัสเอชเอสวี
อย่างไรก็ตาม
เชื้อวาริเซลล่าสามารถก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรงอย่างกลุ่มอาการปากบี้ยวครึ่งซีก
(Ramsay Hunt
Syndrome) ได้
·
โรคอื่น
ๆ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสจากโรคอื่น ๆ ก็อาจประสบภาวะปากเบี้ยวได้ ซึ่งได้แก่
โรคไซโตเมกาโลไวรัส หรือเชื้อซีเอ็มวี (Cytomegalovirus: CMV) ไวรัสเอ็บสไตบาร์ หรือเชื้ออีบีวี (Epstein-Barr
Virus: EBV) ทำให้ป่วยเป็นโรคโมโนนิวคลีโอสิส
(Mononucleosis)
การรักษาปากเบี้ยว
ผู้ป่วยปากเบี้ยวส่วนใหญ่จะพักฟื้นร่างกายและหายได้เองโดยอาจไม่จำเป็นต้องรับการรักษา
แต่จะใช้เวลาพักฟื้นนาน ซึ่งอาจใช้เวลานานถึง 9
เดือน ทั้งนี้ ผู้ป่วยต้องดูแลดวงตาให้ดีในช่วงที่พักฟื้นร่างกาย อย่างไรก็ตาม
การเข้ารับการรักษาจะช่วยให้พักฟื้นได้เร็วขึ้น
โดยวิธีรักษาปากเบี้ยวนั้นประกอบด้วยการรักษาด้วยยา กายภาพบำบัด และการผ่าตัด
ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
·
การรักษาด้วยยา วิธีนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวจากอาการป่วยได้เร็วกว่าเดิม
·
กายภาพบำบัด
ผู้ป่วยที่อาการไม่ดีขึ้นและไม่สามารถฟื้นตัวหลังได้รับการรักษา
จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างอื่นเพิ่มเติม
นักกายภาพบำบัดจะสอนให้ผู้ป่วยบริหารและนวดใบหน้า
เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อดังกล่าว เพื่อช่วยให้อวัยวะบนใบหน้าเคลื่อนไหวได้อย่างสอดประสาน
รวมทั้งป้องกันกล้ามเนื้อใบหน้าหดตัวถาวร
·
การผ่าตัด ศัลยแพทย์จะร่วมกันผ่าตัด
เพื่อช่วยจัดการปัญหากล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรง
วิธีนี้อาจช่วยไม่ให้อาการป่วยของดวงตาแย่ลง
รวมทั้งยกระดับการทำงานและลักษณะของใบหน้าให้ดีขึ้น รวมทั้งปรับการมองเห็นและลักษณะใบหน้าให้ดีขึ้น
ทั้งนี้ การผ่าตัดยังช่วยปรับตำแหน่งปาก ปรับความสมมาตรของใบหน้า
รักษาปัญหาเกี่ยวกับการพูด รับประทานอาหาร และดื่มน้ำ
ผู้ป่วยบางรายอาจได้รับการผ่าตัดเส้นประสาทหรือย้ายเส้นเอ็น เส้นประสาท
และกล้ามเนื้อ อย่างไรก็ตาม แพทย์จะไม่ค่อยผ่าตัดเส้นประสาทใบหน้าที่ถูกกดทับให้แก่ผู้ป่วย
เนื่องจากผู้ป่วยเสี่ยงได้รับบาดเจ็บที่เส้นประสาทใบหน้า และสูญเสียการได้ยินถาวร
·
การฉีดโบทอกซ์ ผู้ป่วยปากเบี้ยว
รวมทั้งผู้ที่มีน้ำตาไหลระหว่างรับประทานอาหารหรือเส้นประสาทใบหน้าต่อกันผิด
จำเป็นต้องได้รับการฉีดโบทอกซ์ โดยแพทย์จะฉีดโบทอกซ์เข้าที่ใบหน้าข้างที่เบี้ยว
เพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัวหรือลดการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อที่ไม่ต้องการ ทั้งนี้
แพทย์จะฉีดโบทอกซ์ตรงหน้าข้างที่ไม่ได้เบี้ยวด้วยในกรณีที่ใบหน้าข้างนั้นได้รับผลกระทบจากอาการปากเบี้ยว
เพื่อลดการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อใบหน้าและทำให้ใบหน้า 2 ข้างสมดุลกัน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.pobpad.com/%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%A7
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น