โรคฝีในสมอง ( Brain abscess) เกิดจากการการติดเชื้อที่สมอง
เชื้อโรค คือ เชื้อแบคทีเรีย strephyloccus ทำให้พิการ หรือ
เสียชีวิตได้ หากมีอาการ ปวดศรีษะอย่างรุนแรง มีไข้ แขนขาอ่อนแรง ชัก
อย่าเบาใจให้รีบพบแพทย์ด่วน
สาเหตุของการเกิดฝีในสมอง
สำหรับสาเหตุของการเกิดฝีในสมองนั้น
มีหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดการติดเชื้อที่สมอง ซึ่งเราสามารถแยกสามเหตุหลักๆ ได้ 3 ประการ คือ
การติดเชื้อที่อวัยวะที่ใกล้และเกี่ยวข้องกับสมอง การติดเชื้อในกระแสเลือด
และการติดเชื้อที่สมองโดยตรง รายละเอียดของสาเหตุข้อต่างๆ มีดังนี้
·
การติดเชื้อของอวัยวะใกล้เคียงกับสมอง
เป็นลักษณะการแพร่กระจายเชื้อโรคเข้าสู่สมอง อวัยวะที่ต้องป้องกันไม่ให้ติดเชื้อ
เนื่องจากอาจทำให้สมองติดเชื้อได้ คือ หู ฟัน ใบหน้า หัว เป็นต้น
·
การติดเชื้อในกระแสเลือด
ซึ่งการเกิดภาวะพิษที่เลือดสามารถกระจายสู่สมองได้ง่ายมาก การติดเชื้อในกระแสเลือด
เป็นโรคอันตรายส่งผลต่อระบบการทำงานทั้งหมดในร่างกาย
·
การติดเชื้อที่สมองโดยตรง
เป็นลักษณะของการเกิดอุบัตติเหตุ เกิดการกระแทกอย่างรุนแรง
ทำให้เขื้อโรคสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทั้งทางแผลที่หัว
หรือเลือดที่เกิดในอุบัตติเหตุ รวมถึงภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดสมอง
กลไกของฝีเกิดขึ้นได้อย่างไร
กระบวนการทางพยาธิวิทยานั้นสามารถกลับมาปรกติได้ใน 3 วัน
ตั้งแต่เริ่มเกิดการอักเสบที่สมอง
หากการไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมนั้น จะทำให้สมองอักเสบมากขึ้น
ซึ่งจะเกิดหนอง
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคฝีในสมอง
สำหรับปัจจัยของการเกิดโรคฝีในสมองนั้น
มีหลายส่วนทั้งที่สามารถควบคุมได้และควบคุมไม่ได้
แต่เราก็รวมปัจจัยของการเกิดโรคฝีในสมองว่ามีอะไรบ้าง
เพื่อจะสามารถป้องกันการเกิดปัจจัยเสี่ยงของโรคได้
·
ภาวะภูมิต้านทานร่างกายต่ำ
ซึ่งปัจจัยนี้เกิดจากร่างกายที่อ่อนแอ สามารถควบคุมได้ด้วยการออกกำลังกายและรับประทานอาหารที่มีประโยชนืต่อร่างกาย
·
ภาวะการติดเชื้อในอวัยวะส่วนที่เชื่อมโยงกับสมองและใกล้สมอง
เช่น หู ไซนัส ฟัน เหงือก แผลที่ศรีษะ เป็นต้น
·
โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
·
โรคหัวใจ
·
การติดเชื้อในกระแสเลือดหรือภาวะโลหิตเป็นพิษ
·
อุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนสมองอย่างรุนแรง
อาการของผู้ป่วยโรคฝีในสมอง
สำหรับอาการของโรคฝีในสมองจะส่งผลกระทบกับระบบประสาทเป็นหลัก
ซึ่งอาการที่พบเห็นในกรณีที่ไม่ได้เกิดอุบัติเหตุถึงขั้น โคม่า จะพบอาการ คือ
เวียนหัว เสียการทรงตัว ปวดหัวอย่างรุนแรง มีไข้สูง แขนขาอ่อนแรง สายตาพร่ามัว คลื่นไส้อาเจียน มีอาการชัก มีหนองไหลจากหู เป็นต้น
หากพบว่ามีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง มีไข้สูง แขนขาอ่อนแรง
ให้รีบนำตัวส่งโรงพยาบาลด่วนที่สุด
การรักษาโรคฝีในสมอง
การรักษาโรคฝีในสมองนั้น ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาโรคฝีในสมอง
ที่โรงพยาบาลตลอดเวลาและรักษาในห้องปลอดเชื้อโรค สำหรับการรักษานั้น
รักษาด้วยการให้ยาต้านจุลชีพ โดยจะให้ยาต้าลจุลชีพ ประมาณ 45 วัน
หรือให้จนกว่าฝีที่สมองจะหาย
ในกรณีที่ผู้ป่วยโรคฝีในสมองไม่ตอบสนองต่อยาต้านจุลชีพ
แพทย์จะทำการผ่าตัดสมอง เพื่อนำก้อนเนื้อฝีออกให้หมด
แต่การรักษาต้องรักษาโรคพร้อมกับควบคุมการเกิดโรคแทรกซ้อน อย่าง โรคหูน้ำหนวก
โรคหัวใจ เพื่อป้องกันไม่เกิดฝีที่สมองซ้ำอีก การรักษาโรคฝีในสมองนั้น
หากรักษาช้าหรือไม่ถูกวิธี ส่วยมากผู้ป่วยจะเสียชีวิตทุกราย แต่หากรักษาได้
จะพบว่ามีผลข้างเคียงต่อระบบประสาทเช่น แขนขาอ่อนแรง หรือ อาการชัก เป็นต้น
การดูแลผู้ป่วยโรคฝีในสมอง
การดูแลผู้ป่วยโรคฝีในสมองนั้น จำเป็นต้องควบคุมปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคอย่างเคร็งคลัด
·
จัดสถานที่ให้สะดวกต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
เนื่องจากผู้ป่วยจะมีร่างกายที่ผิดปรกติ เช่น แขน ขาอ่อนแรง
ต้องจัดสถานที่ให้สะดวกเพื่อป้องกันอุบัตติเหตุ
·
ให้ทำกายภาพบำบัดอย่างสม่ำเสมอ
·
ต้องพกยากันอาการชักติดตัวเสมอ
อย่าให้ขาดยา
·
รักษาสุขอนามัยพื้นฐานให้ดี
เพื่อลดโอกาสการเกิดฝีสมอง อีกครั้ง
·
พาผู้ป่วยพบแทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ
·
หากพบอาการผิดปรกติมากขึ้น
เช่น ผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง แขนขากลับมาอ่อนแรงอีก มีอาการชักบ่อยขึ้น
ให้พบแพทย์เพื่อรับการรักษา
การป้องกันโรคฝีในสมอง
สำหรับการป้องกันการเกิดโรคฝีในสมอง
นั้นเราต้องป้องกันปัจจัยทั้งหมดที่สามารถควบคุมได้
โดยการป้องกันโรคฝีในสมองมีดังนี้
·
ใช้ชีวิตอย่างระมัดระวัง
ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ โดยเฉพาะที่ศีรษะ
·
ดูแลร่างกายให้แข็งแรง
เพื่อให้ร่างกายสามารถมีภูมิต้านทานโรค
·
รับประทาออาหารที่มีประโยชน์และรักษาสุขอนามัยพื้นฐานในสถานที่ที่อยู่อาศัยให้ดี
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://beezab.com/%E0%B8%9D%E0%B8%B5%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%87-%E0%B8%9D%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%87/
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น